วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สื่อการสอน
ระบบนิเวศ คืออะไร
ระบบนิเวศ หมายถึง ระบบที่สิ่งมีชีวิตต่างๆอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจะสัมพันธ์กันโดยจะมีการกินต่อกันเป็นทอดๆจากผู้บริโภคพืชสู่ผู้บริโภคสัตว์ นอกจากนี้สิ่งมีชีวิตสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่วิ่งมีชีวิตนั้นอาศัยอยู่หลายลักษณะ เช่น สัมพันธ์กันในเรื่องที่อยู่อาศัย ที่หลบภัยจากศัตรู ที่ขยายพันธุ์ และแหล่งอาหาร เป็นต้น
จากภาพแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมได้ดังนี้
- ต้นหูกวางเป็นที่อยู่อาศัยของแมงมุม และนกกระจอก
- แมงมุมกินแมลงเล็กๆที่ติดกับใยแมงมุมเป็นอาหาร
- ผึ้งดูดน้ำหวานจากดอกบานชื่นเป็นอาหาร
- ต้นหูกวาง ต้นบานชื่น เจริญเติบโตโดยอาศัยดิน น้ำ และอากาศ
- มดทำรังอยู่ใต้ก้อนหิน
จากภาพแสดงการกินต่อเป็นทอดๆ ได้ดังนี้
- นกกับหนอนสัมพันธ์กันโดยนกกินหนอนเป็นอาหาร ตั๊กแตนและหนอนก็จะกินหญ้า ซึ่งเป็นอาหาร สัตว์เหล่านี้จะกลายเป็นอาหารของสัตว์อื่นๆอีกต่อหนึ่ง
- ผีเสื้อจะช่วยผสมเกสรให้ดอกไม้ ขณะที่มีผีเสื้อก็จะได้น้ำหวานจากดอกไม้ด้วย
- ถ้าต้นไม้ถูกโค่นลงบริเวณนั้นก็จะขาดร่มเงา สัตว์หลายชนิด เช่น นก กระจอก แมงมุม จะขาดแหล่งที่อยู่อาศัย เลี้ยงดูลูกอ่อน และหาอาหาร สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในดินมีหลายชนิด เช่น ไส้เดือน มด แมลงปีกแข็งบางชนิด ถ้าสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลง เช่น น้ำท่วมหรือแห้งแล้ง สิ่งมีชีวิตบริเวณนั้นอาจตายหรือย้ายที่อยู่ หรือถ้ามีหนอนเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ต้นไม้ ต้นหญ้าถูกกัดกินมากขึ้น ขณะเดียวกัน นกที่กินหนอนก็อาจจะเข้ามาในบริเวณนี้มากขึ้น ส่วนเห็ด รา อาจเป็นอาหารของของสิ่งมีชีวิตบางชนิด และช่วยย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์

ระบบนิเวศ (Ecosystem) เป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ กับบริเวณแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ดำรงชีวิตอยู่
ระบบนิเวศนั้นเป็นแนวคิด (concept) ที่นักนิเวศวิทยาได้นำมาใช้ในการมองโลกส่วนย่อย ๆ ของโลกเพื่อที่จะได้เข้าใจความเป็นไปบนโลกนี้ได้ดีขึ้น ระบบนิเวศหนึ่ง ๆ นั้น ประกอบด้วยบริเวณที่สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ และกลุ่มประชากรที่มีชีวิตอยู่ในบริเวณดังกล่าว พืชและโดยเฉพาะสัตว์ต่าง ๆ ก็ต้องการบริเวณที่อยู่อาศัยที่มีขนาดอย่างน้อยที่สุดที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อว่าการมีชีวิตอยู่รอดตลอดไป ยกตัวอย่าง เช่น สระน้ำแห่งหนึ่งเราจะพบสัตว์และพืชนานาชนิด ซึ่งสามารถปรับตัวให้เข้ากับบริเวณน้ำที่มันอาศัยอยู่โดยมีจำนวนแตกต่างกันไปตามแต่ชนิด สระน้ำนั้นดูเหมือนว่าจะแยกจากบริเวณแวดล้อมอื่น ๆ ด้วยขอบสระ แต่ตามความเป็นจริงแล้วปริมาณน้ำในสระสามารถเพิ่มขึ้นได้ โดยน้ำฝนที่ตกลงมา ในขณะเดียวกันกับที่ระดับผิวน้ำก็จะระเหยไปอยู่ตลอดเวลา น้ำที่ไหลเข้ามาเพิ่มก็จะพัดพาเอาแร่ธาตุและชิ้นส่วนต่าง ๆ ของพืชที่เน่าเปื่อยเข้ามาในสระตัวอ่อนของยุงและลูกกบตัวเล็ก ๆ อาศัยอยู่ในสระน้ำ แต่จะไปเติบโตบนบก นกและแมลงซึ่งมีถิ่นที่อยู่นอกสระก็จะมาหาอาหารในสระน้ำ การไหลเข้าของสารและการสูญเสียสารเช่นนี้จึงทำให้สระน้ำเป็นระบบเปิดระบบหนึ่ง
สระน้ำนี้ จึงเป็นหน่วยหนึ่งของธรรมชาติที่เรียกว่า "ระบบนิเวศ" (Ecosystem) ซึ่งกล่าวได้ว่าระบบนิเวศหนึ่ง ๆ นั้น เป็นโครงสร้างที่เปิดและมีความสามารถในการควบคุมตัวของมันเอง ประกอบไปด้วยประชากรต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ไร้ชีวิต ระบบนิเวศเป็นระบบเปิดที่มีความสัมพันธ์กับบริเวณแวดล้อมโดยมีการแลกเปลี่ยนสาร และพลังงาน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวชุมชนที่มีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ใช้ชีวิตนั้นรวมกันเป็นระบบนิเวศ
ระบบนิเวศอาจมีขนาดใหญ่ระดับโลก คือ ชีวาลัย (biosphere) ซึ่งเป็นบริเวณที่ห่อหุ้มโลกอยู่และสามารถมีขบวนการต่าง ๆ ของชีวิตเกิดขึ้นได้หรืออาจมีขนาดเล็กเท่าบ่อน้ำแห่งหนึ่ง แต่เราสามารถจำแนกระบบนิเวศออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ ดังนี้
1.ระบบนิเวศทางธรรมชาติและใกล้ธรรมชาติ (Natural and seminatural ecosystems) เป็นระบบที่ต้องพึ่งพลังงานจากดวงอาทิตย์ เพื่อที่จะทำงานได้
1.1 ระบบนิเวศแหล่งน้ำ (Aguative cosystems)
1.1.1 ระบบนิเวศทางทะเล เช่น มหาสมุทรแนวปะการัง ทะเลภายในที่เป็นน้ำเค็ม
1.1.1 ระบบนิเวศทางทะเล เช่น มหาสมุทรแนวปะการัง ทะเลภายในที่เป็นน้ำเค็ม
1.2 ระบบนิเวศบนบก (Terresttrial ecosystems)
1.2.1 ระบบนิเวศกึ่งบก เช่น ป่าพรุ
1.2.2 ระบบนิเวศบนบกแท้ เช่น ป่าดิบ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย
1.2.1 ระบบนิเวศกึ่งบก เช่น ป่าพรุ
1.2.2 ระบบนิเวศบนบกแท้ เช่น ป่าดิบ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย
2.ระบบนิเวศเมือง-อุตสาหกรรม (Urbanindustral ecosystems) เป็นระบบที่ต้องพึ่งแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง พลังนิวเคลียร์ เป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นมาใหม่
3.ระบบนิเวศเกษตร (Agricultural ecosystems) เป็นระบบที่มนุษย์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทางธรรมชาติขึ้นมาใหม่
วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
